หน่วยที่5
การออกแบบการเรียนการสอน
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
(Constructivism)
2.1
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
2.1.1 การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional
System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย
เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional
Design and Developmen) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ
มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ
ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า
ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง
ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ
โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า
ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง
ๆ
ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional
Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ
ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
ที่เชื่อได้ว่า
ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
ทิศนา (2548) ได้กล่าวว่า
รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional Model) คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ
สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ
โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว
มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด
ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น
ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
2.1.2
ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
2.1.2.1
ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี
Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา,
2553)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism
Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน
การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง
ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน
หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง
นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร
(สุรางค์, 2541)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง
ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation) คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่ และการปรับกระบวนการการรู้คิด (Accommodation) คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ
มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง
ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น
(ราชบัณฑิตสถาน, 2551)
นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่า“นิรมิตนิยมเชื่อว่า
ความรู้ ก็คือ
สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา
เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง
แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา
ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า
ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่
ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ
ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก
ที่จะเรียน เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ
หลักการต่าง ๆ
เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารถนิรมิต (Construc) ความรู้ใหม่ (สำหรับตัวเขา) ขึ้นได้”
(สุนทร, 2540)
ทฤษฎีการสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
เป็นทฤษฎีที่เน้นบทบาทของความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียนในการเรียนรู้หรือสร้างข้อมูลอย่างมีความหมาย นักทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
เน้นความสำคัญของความเข้าใจปัจจุบัน
และเห็นว่าการเรียนรู้ใหม่เกิดจากการแปลความหรือตีความจากความเข้าใจภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
ไม่ใช่ข้อมูลเดี่ยวแต่เป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับความรู้ที่มีในภายหลัง (ณมน,
2549)
สรุปได้ว่า ทฤษฎี Constructivism
เป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำข้อมูลและเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองและยังเป็นกระบวนการทางสังคมอีกด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้เรียกว่าทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
2.1.2.2
หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (Active) และสร้างความรู้
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม มีรากฐานมาจาก 2
แหล่ง คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของ Piajet และ Vygotsky ซึ่งอธิบายว่า โครงสร้างทางสติปัญญา (Scheme) ของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ (Assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา (Accommodation) เพื่อให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium)
ซึ่ง Piajet เชื่อว่าทุกคลจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่วน Vygotsky ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม สังคม
และภาษามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ สุรางค์
(2544) ได้กล่าวว่า พื้นฐานของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม
มีรากฐานมาจาก 2 แห่ง คือ ทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet และ Vygotsky คือ
2.1.2.2.1
ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงปัญญา (Cognitive Constructivism) หมายถึงฐานรากมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ Piajet ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (Active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ทางพุทธิปัญญาขึ้นเป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่จนกระทั่งเกิดความสมดุยล์ทางพุทธิปัญญา
หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2.1.2.2.2
ทฤษฎีสร้างความรู้นิยมเชิงสังคม (Social Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของ
Vygotsky ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น
(ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social
Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขึ้น
สรุปได้ว่า
Piajet เน้นการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับความรู้เดิม ในขณะที่แนวคิดของ Vygotsky เน้นการเรียนรู้ว่าเกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2.1.3
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Bruner
Jerome Bruner เป็นนักจิตวิทยาแนวพุทธิปัญญา
ที่เน้นที่พัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้เรียนประกอบกับการจัดโครงสร้างของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
และได้เสนอทฤษฎีการสอน (Theory
of Instruction)
2.1.3.1
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
NECTEC’s Web based Learning ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามทฤษฎีของBruner
ไว้ดังนี้
1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง
ๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(Meaningful
Learning) ของ Ausubel
สุรางค์ (2541) กล่าวว่า
ทฤษฎีของ Ausubel เป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า
Meaningful Verbal Learning เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา
(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยให้ข้อมูลข่าวสาร
ด้วยถ้อยคำ Ausubel แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท
1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
(Meaningful Reception Learning)
2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง
(Rote Reception Learning)
3. การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย
(Meaningful Discovery Learning)
4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดแบบนกแก้วนกขุนทอง
(Rote Discovery Learning)
2.1.7
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยม 3 รูปแบบ (Three Constructivist Design Model)
Concept to Classroom
ได้กล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้นิยมไว้ดังนี้
2..7.1
วงจรผู้เรียน คือการออกแบบ 3 ขั้น
ที่สามารถใช้เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ได้กับกิจกรรมหลายแบบของการเรียนในแนวสร้างความรู้นิยม
วงจรการเรียนเป็นรูปแบบที่ให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนที่เราใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์
กระบวนการขั้นแรกเริ่มจากการสืบค้น
ครูจะจูงใจให้ผู้เรียนตั้งคำถามหรือตั้งสมมติฐานจากงานที่ทำจากวัสดุการเรียนหลาย
ๆ ชิ้น ขั้นที่ 2 ครูจะจัดเตรียม แนะนำแนวคิดของบทเรียน
ครูจะปรับจุดสนใจของผู้เรียน
ด้วยคำถามและช่วยนักเรียนในการสร้างสมมติฐานและออกแบบการทดลอง ในขั้นที่ 3 โดยประยุกต์แนวความคิด นักเรียนจะทำงานด้วยปัญหาใหม่ที่ถูกพิจารณาแนวความคิดในการศึกษาใหม่ ใน 2
ขั้นแรกจะพบว่าวงจรจะถูกพิจารณากลับไปกลับมาหลายครั้งในบทเรียน
2.1.7.2
รูปแบบการเรียนที่พัฒนาโดย Gagnon.Jr.,
และ Collay ในรูปแบบการเรียนนี้
ครูจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
2.1.7.2.1
พัฒนาการอธิบายให้เหมาะสมกับนักเรียน
2.1.7.2.2
เลือกกระบวนการสำหรับกลุ่ม วัสดุการศึกษาและนักเรียน
2.1.7.2.3
เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผู้เรียนพร้อมที่รู้กับสิ่งที่ครูต้องการให้เรียน
2.1.7.2.4
เตรียมคำถามล่วงหน้าในการถามตอบและต้องมีการอธิบายคำตอบ
2.1.7.2.5
จูงใจผู้เรียนให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมกันแสดงความคิดกับคนอื่น
2.1.7.2.6
เรียกร้องให้นักเรียนสะท้อนสิ่งที่เรียนออกมา
2.1.7.3
Mcclintock และ Black จาก Columbia
University Teacher College ได้ออกแบบ
รูปแบบการเรียนจากสภาพแวดล้อมในการสนับสนุนการเรียนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ที่ โรงเรียน Dalton ในรัฐ New York รูปแบบ The Information Construction (ICON) ประกอบด้วย
7 ขั้นตอน:
2.1.7.3.1
การสังเกต : นักเรียนจะสังเกตจากแหล่งสื่อที่เป็นปฐมภูมิในบริบทที่เป็น
ธรรมชาติ หรือสถานการณ์จำลอง
2.1.7.3.2
การตีความ : นักเรียนตีความสิ่งที่สังเกตและอธิบายเหตุผล
2.1.7.3.3
สภาพแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย : นักเรียนสร้างบริบ
สำหรับการอธิบาย
2.1.7.3.4
เกิดพุทธิปัญญา : ครูช่วยให้นักเรียนเกิดการสังเกตอย่างเชี่ยวชาญ, การแปล
ความและเกิดสภาพแวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
2.1.7.3.5
การร่วมมือ : นักเรียนร่วมมือกันในสังเกต, การแปลความและเกิดสภาพ
แวดล้อมที่ช่วยในการเข้าใจความหมาย
2.1.7.3.6
มีการตีความหลายอย่าง :
นักเรียนมีความยืดหยุ่นทางปัญญาสูงขึ้นโดยการตีความหลาย ๆ ครั้งจากนักเรียนคนอื่นและจากตัวอย่างที่ดี
2.1.7.3.7
เข้าใจอย่างแจ่มชัด :
นักเรียนสามารถถ่ายโยงโดยการมองอย่างแจ่มชัดในการตีความ
การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional
System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย
เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional
Design and Developmen) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือ
มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach) (ฉลอง, 2551)
แนวคิดของวิธีระบบ
ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า
ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง
ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ
โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า
ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง
ๆ
ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึงปัจจุบัน นักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional
Model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ
รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ
ทดสอบและการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์
การเลือกวิธีสอน
- สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน
เป็นวิธีที่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะสอนนั้น
- เหมาะสมกับเวลา สถานที่
และจานวนผู้เรียนประเภทของวิธีสอน
1. วิธีสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher
– Centered Method) ได้การสอนที่ครูเป็นผู้สอน
ครูเป็นผู้ดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น
ครูจะเป็นผู้ตั้งจุดมุ่งหมาย ควบคุมเนื้อหา จัดกิจกรรม และวัดผล เป็นต้น
วิธีสอนแบบนี้มีหลายวิธีได้แก่ วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต
วิธีสอนโดยการทบทวน
2. ที่วิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child
- centered Method) ได้แก่วิธสอนทีให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
เป็นผู้วางแผนบทเรียน ดาเนินการค้นคว้าหาความรู้
ครูเป็นเพียงผู้แนะแนวไปสู่การค้นคว้า
แนะนาสื่อการเรียนการสอนจนนักเรียนได้ความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ วิธีสอนแบบบูรณาการ
วิธีสอนแบบทดลอง วิธีสอนแบบโครงการ วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน
วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทางาน วิธีสอนแบบอภิปราย
วิธีสอนแบบหน่วย วิธีสอนแบบอุปนัย วิธีสอนแบบนิรนัย วิธีสอนแบบแสดงบทบาท
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ วิธีสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่ (ศ. ดร. สาโรช บัวศรี)
ขั้นตอนวิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่
1. ขั้นกาหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)
- ศึกษาปัญหา
- กาหนดขอบเขตของปัญหาที่จะแก้
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)
- พิจารณาสาเหตุของปัญหา
- จะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุ
- พยายามทาอะไรหลาย ๆ
อย่างเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุ
3. ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)
- ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ
- ทดลองได้ผลประการใดบันทึกข้อมูลไว้
4. ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)
- วิเคราะห์เปรียบเทียบ
- สรุปผลและแนวทางเพื่อปฏิบัติ
ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีควรมีลักษณะ
ดังนี้
1. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทา
การได้ลงมือทาจริง ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
2. มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการทางานเป็นกลุ่ม
นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทางานร่วมกับผู้อื่น
3. มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข
ความสนใจ กระตือรือร้นในการทากิจกรรมต่าง ๆ
4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น
ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
5. มีการใช้สื่อการสอน จาพวกโสตทัศนวัสดุ
เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ
ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
7. มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ
ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ
เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม
และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทาสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมีประโยชน์ไม่ เลียนแบบใคร
ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น
รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทากิจกรรม
10. มีการส่งเสริมการดาเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย
เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู
11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทาการสอนเสมอ
12. มีการประเมินผลตลอกเวลา โดยวิธีการต่าง
ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ
เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด
ระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน
กระบวนการ และ ผลผลิต 1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ
ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอานวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์ 2. กระบวนการ ได้แก่ การดาเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ 3. ผลผลิต
ได้แก่ ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
...ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนในการใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนรับรู้
แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้นเพราะสื่อการเรียนการสอนจะเร้าความสนใจ
ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในเรื่องที่เรียน และมีส่วนร่วมในการเรียน
3. ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช้เวลาน้อย
แต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
3. ลดการบรรยายของผู้สอน
แต่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ
และจดจำได้นาน
5. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพขึ้น
6. ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในการเรียนรู้
7. ทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็น
เพราะเป็นการให้ข้อเท็จจริง
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด
9. สะดวกในการสอนของครู
10. สามารถสัมผัสและรับรู้ได้โดยง่าย
11. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้เรียนเพราะสื่อการเรียนการสอนสามารถเก็บและเสนอข้อมูลได้ตามที่ต้องการ
12. เป็นเครื่องมือสำหรับครูในการวินิจฉัยผลการเรียน
และช่วยในการสอสซ่อมเสริม
13. ครูสามารถสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้กว้างมากขึ้น
14. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีภายในชั้นเรียนผู้สอนสนุกสนานไปกับการสอน
ทำให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวา
15. ช่วยให้ครูมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเพราะครูบางคนพูดไม่เก่ง
ในการใช้อุปกรณ์หรือสื่อต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สอน
16. สื่อการเรียนการสอนจะช่วยในการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนให้ชัดเจน
เป็นรูปธรรมมากขึ้น
17. สามารถใช้กับคนกลุ่มใหญ่
กลุ่มย่อยหรือรายบุคคลในสถานที่ต่างกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น